Friday, February 20, 2009
ใครเคยลืมกินยาตามเวลาบ้าง วันนี้เดลินิวส์ออนไลน์มีวิธีแก้มาบอกเพราะยาบางตัวอาจออกฤทธิ์ไม่เหมือนกัน....
- ถ้าลืมกิน...ยาก่อนอาหารวิธีแก้ : ยาจำพวกนี้จะดูดซึมได้ดีขณะที่ห้องว่าง ดังนั้นหากลืมกินก่อนอาหารให้กินหลังอาหารอีกทีเมื่อเวลาผ่านไปแล้ว 2 ชั่วโมง กระเพาะจะใช้เวลาในการย่อยอาหารประมาณ 2 ชั่วโมงหลักการที่ถูก : ควรกินก่อนอาหาร ประมาณ 30-60 นาที
- ถ้าลืมกิน...ยาหลังอาหารวิธีแก้ : รีบกินทันทีที่นึกได้ แต่หากเลยหลังอาหารไปแล้ว 2 ชั่วโมง ให้หาของว่างรองท้อง แล้วกินยามื้อที่ลืม แต่ถ้าใกล้เวลากินมื้อต่อไปแล้ว ให้ข้ามมื้อที่ลืมไปเลย ไม่ควรกินยาเป็น 2 เท่า เด็ดขาด!หลักการที่ถูก : ควรรับประทานหลังอาหาร ประมาณ 15-20 นาที
- ถ้าลืมกิน...ยาหลังอาหารทันที/ยากินพร้อมอาหารวิธีแก้ : ยาประเภทนี้มีฤทธิ์กัดกระเพาะ อาจทำให้ท้องอืดแน่นหรือคลื่นไส้อาเจียน ถ้ากินตอนท้องว่าง ดังนั้นควรทำเหมือนกรณีลืมกินยาหลังอาหารทุกประการหลักการที่ถูก : ควรกินทันทีหลังอาหารคำสุดท้าย
- ถ้าลืมกิน...ยาก่อนนอนทางแก้ : ลืมแล้วก็ปล่อยให้ลืมไป ไม่ต้องกินซ้ำอีกครั้งในตอนเช้า หรือตามไปกินซ้ำ 2 เท่า ในช่วงก่อนเข้านอนของอีกวันหลักการที่ถูก : กินแล้วควรเข้านอนทันที (ยาประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นยาคลายประสาท ทำให้ง่วงนอน จึงอาจเกิดอุบัติเหตุได้ถ้าไม่อยู่เป็นที่เป็นทาง)
ครั้งหน้าถ้าลืมกินยาเมื่อไหร่ อย่าลืมนำวิธีแก้ที่แนะนำไปปฏิบัติตามกันได้.
ที่มา http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=72646&NewsType=2&Template=1
ประวัติ
การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ในสมัยที่มหาวิทยาลัยนเรศวรยังคงเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก โดยในช่วงนั้นภายหลังจากที่กระทรวงมหาดไทยอนุญาตให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลกได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินทุ่งหนองอ้อ-ปากคลองจิก ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน เพื่อขยายโครงการของมหาวิทยาลัยแล้ว ทางวิทยาเขตจึงได้จัดทำ "แผนพัฒนาวิทยาเขตพิษณุโลก" ขึ้น โดยมีโครงการที่จะจัดตั้งคณะขึ้นมาใหม่ 3 คณะ คือ คณะเกษตรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งคณะแพทยศาสตร์และพยาบาลศาสตร์ด้วย[1]
ภายหลังจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลกได้ยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยนเรศวร" เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคมพ.ศ. 2533 แล้ว การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์จึงได้ดำเนินการอีกครั้งในช่วงปี พ.ศ. 2536 ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นมีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในส่วนภูมิภาค โดยจัดให้มีการผลิตแพทย์เพิ่มและกระจายแพทย์ลงสู่ส่วนภูมิภาคให้มากขึ้น รัฐบาลจึงศึกษาความเป็นไปได้ถึงความเหมาะสมของการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นใหม่ในมหาวิทยาลัยภูมิภาค[5]
จากแนวทางดังกล่าว มหาวิทยาลัยนเรศวรได้เสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ต่อทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 โดยมุ่งหวังที่จะผลิตแพทย์สนองนโยบายรัฐบาลโดยแนวทางที่จะใช้ทรัพยากรร่วมกับโรงพยาบาลในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดภาคเหนือตอนล่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งมีการลงนามความร่วมมือการผลิตแพทย์ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยนเรศวรในปี พ.ศ. 2537[6] หลังจากที่คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นมีมติเห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุข ร่วมมือกับทบวงมหาวิทยาลัย จัดทำโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (The Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctor-CPIRD)
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้มีการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2537[5] และในคราวเดียวกันนั้น คณะรัฐมนตรีก็ได้อนุมัติโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยมุ่งหวังให้เป็นสถานที่สำหรับการเรียนการสอนนิสิตในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพทั้งหมดของมหาวิทยาลัย และเพื่อเป็นโรงพยาบาลหลักของคณะสำหรับการเรียนการสอนของนิสิตแพทย์ในอนาคตต่อไป ซึ่งการก่อสร้างอาคารศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพแล้วเสร็จและเริ่มเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ซึ่งในช่วงแรกได้ใช้ชื่อว่า "สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร" โดยเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน และต่อมาได้เข้ารวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์ในปี พ.ศ. 2548 พร้อมทั้งใช้ชื่อเป็น "โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร"[3]
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรเริ่มรับนิสิตแพทย์รุ่นแรกตั้งแต่ปีการศึกษา 2538 โดยในช่วงแรกทำการเรียนการสอนชั้นปรีคลินิก (ชั้นปีที่ 1 - 3) ที่คณะแพทยศาสตร์และคณะอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยนเรศวร จากนั้นจึงไปศึกษาต่อระดับชั้นคลินิก (ชั้นปีที่ 4 - 6) ที่โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ซึ่งหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับการรับรองจากแพทยสภา เมื่อพ.ศ. 2539[5] จากนั้นในปี พ.ศ. 2542 ทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ขยายการเรียนการสอนชั้นคลินิกเพิ่มโดยร่วมมือกับทางโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ซึ่งนิสิตแพทย์ทั้งหมดจะอยู่ในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท โดยรับนิสิตจากโควต้าในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง[7]
ปีการศึกษา 2546 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดรับนิสิตแพทย์แนวใหม่ (New Tract) โดยรับจากบุคลากรสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้โอกาสผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์หรือสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่มีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับการสาธารณสุข เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีระยะเวลาเวลาศึกษา 5 ปี (เทียบโอนหน่วยกิตในชั้นปีที่ 1) และศึกษาตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เหมือนกับนิสิตแพทย์ปกติทุกประการ ซึ่งจะอยู่ในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทเช่นเดียวกัน โดยจะทำการเรียนการสอนชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โรงพยาบาลแพร่ และ โรงพยาบาลพิจิตร[5]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เปิดรับนิสิตแพทย์จากระบบคัดเลือกส่วนกลางของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)[5] ซึ่งไม่ได้อยู่ในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทของกระทรวงสาธารณสุข โดยนิสิตแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนการสอนชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร และโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ (สำหรับโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จะรับเฉพาะนิสิตแพทย์ที่เข้าทำการศึกษาในปีการศึกษา 2547 - 2548 เท่านั้น)[8] และตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 เป็นต้นไปทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้เปลี่ยนวิธีการรับนิสิตแพทย์ระบบคัดเลือกส่วนกลาง โดยรับร่วมกับกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.)
ในปีการศึกษา 2552 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ดำเนินการจัดสรรสถานที่เรียนในชั้นคลินิกใหม่ โดยนิสิตในโครงการคัดเลือกผ่านกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท และโครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน จะจัดสรรให้เรียนในชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก หรือศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ส่วนโครงการแพทย์แนวใหม่ มีการจัดสรรให้เรียนในชั้นคลินิกที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลแพร่ หรือศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพิจิตร เช่นเดิม[9]
ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรแบ่งหน่วยงานออกเป็น 11 ภาควิชา สำนักงานเลขานุการคณะ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร[8][10]
ที่มา
ประวัติ
การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ในสมัยที่มหาวิทยาลัยนเรศวรยังคงเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก โดยในช่วงนั้นภายหลังจากที่กระทรวงมหาดไทยอนุญาตให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลกได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินทุ่งหนองอ้อ-ปากคลองจิก ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน เพื่อขยายโครงการของมหาวิทยาลัยแล้ว ทางวิทยาเขตจึงได้จัดทำ "แผนพัฒนาวิทยาเขตพิษณุโลก" ขึ้น โดยมีโครงการที่จะจัดตั้งคณะขึ้นมาใหม่ 3 คณะ คือ คณะเกษตรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งคณะแพทยศาสตร์และพยาบาลศาสตร์ด้วย[1]
ภายหลังจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลกได้ยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยนเรศวร" เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคมพ.ศ. 2533 แล้ว การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์จึงได้ดำเนินการอีกครั้งในช่วงปี พ.ศ. 2536 ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นมีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในส่วนภูมิภาค โดยจัดให้มีการผลิตแพทย์เพิ่มและกระจายแพทย์ลงสู่ส่วนภูมิภาคให้มากขึ้น รัฐบาลจึงศึกษาความเป็นไปได้ถึงความเหมาะสมของการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นใหม่ในมหาวิทยาลัยภูมิภาค[5]
จากแนวทางดังกล่าว มหาวิทยาลัยนเรศวรได้เสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ต่อทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 โดยมุ่งหวังที่จะผลิตแพทย์สนองนโยบายรัฐบาลโดยแนวทางที่จะใช้ทรัพยากรร่วมกับโรงพยาบาลในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดภาคเหนือตอนล่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งมีการลงนามความร่วมมือการผลิตแพทย์ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยนเรศวรในปี พ.ศ. 2537[6] หลังจากที่คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นมีมติเห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุข ร่วมมือกับทบวงมหาวิทยาลัย จัดทำโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (The Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctor-CPIRD)
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้มีการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2537[5] และในคราวเดียวกันนั้น คณะรัฐมนตรีก็ได้อนุมัติโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยมุ่งหวังให้เป็นสถานที่สำหรับการเรียนการสอนนิสิตในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพทั้งหมดของมหาวิทยาลัย และเพื่อเป็นโรงพยาบาลหลักของคณะสำหรับการเรียนการสอนของนิสิตแพทย์ในอนาคตต่อไป ซึ่งการก่อสร้างอาคารศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพแล้วเสร็จและเริ่มเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ซึ่งในช่วงแรกได้ใช้ชื่อว่า "สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร" โดยเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน และต่อมาได้เข้ารวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์ในปี พ.ศ. 2548 พร้อมทั้งใช้ชื่อเป็น "โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร"[3]
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรเริ่มรับนิสิตแพทย์รุ่นแรกตั้งแต่ปีการศึกษา 2538 โดยในช่วงแรกทำการเรียนการสอนชั้นปรีคลินิก (ชั้นปีที่ 1 - 3) ที่คณะแพทยศาสตร์และคณะอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยนเรศวร จากนั้นจึงไปศึกษาต่อระดับชั้นคลินิก (ชั้นปีที่ 4 - 6) ที่โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ซึ่งหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับการรับรองจากแพทยสภา เมื่อพ.ศ. 2539[5] จากนั้นในปี พ.ศ. 2542 ทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ขยายการเรียนการสอนชั้นคลินิกเพิ่มโดยร่วมมือกับทางโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ซึ่งนิสิตแพทย์ทั้งหมดจะอยู่ในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท โดยรับนิสิตจากโควต้าในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง[7]
ปีการศึกษา 2546 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดรับนิสิตแพทย์แนวใหม่ (New Tract) โดยรับจากบุคลากรสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้โอกาสผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์หรือสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่มีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับการสาธารณสุข เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีระยะเวลาเวลาศึกษา 5 ปี (เทียบโอนหน่วยกิตในชั้นปีที่ 1) และศึกษาตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เหมือนกับนิสิตแพทย์ปกติทุกประการ ซึ่งจะอยู่ในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทเช่นเดียวกัน โดยจะทำการเรียนการสอนชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โรงพยาบาลแพร่ และ โรงพยาบาลพิจิตร[5]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เปิดรับนิสิตแพทย์จากระบบคัดเลือกส่วนกลางของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)[5] ซึ่งไม่ได้อยู่ในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทของกระทรวงสาธารณสุข โดยนิสิตแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนการสอนชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร และโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ (สำหรับโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จะรับเฉพาะนิสิตแพทย์ที่เข้าทำการศึกษาในปีการศึกษา 2547 - 2548 เท่านั้น)[8] และตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 เป็นต้นไปทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้เปลี่ยนวิธีการรับนิสิตแพทย์ระบบคัดเลือกส่วนกลาง โดยรับร่วมกับกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.)
ในปีการศึกษา 2552 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ดำเนินการจัดสรรสถานที่เรียนในชั้นคลินิกใหม่ โดยนิสิตในโครงการคัดเลือกผ่านกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท และโครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน จะจัดสรรให้เรียนในชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก หรือศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ส่วนโครงการแพทย์แนวใหม่ มีการจัดสรรให้เรียนในชั้นคลินิกที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลแพร่ หรือศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพิจิตร เช่นเดิม[9]
ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรแบ่งหน่วยงานออกเป็น 11 ภาควิชา สำนักงานเลขานุการคณะ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร[8][10]
ที่มา
โรคหลอดเลือดหัวใจ
มีการประมาณกันอย่างคร่าวๆ ว่า ทุก ชั่งโมง จะมีคนไทย 5 คนเสียชีวิต ด้วยโรคหัวใจ หรือ ทุกปีกว่า 65,000 คน ต้องตายด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ คงมีหลายคนคิดว่า โชคดีที่ไม่ใช่เรา หรือ คนที่เรารัก และก็จะยิ่งเป็นโชคดียิ่งขึ้น ที่จะได้อ่านบทความนี้ จนเข้าใจและสามารถ นำมาปฏิบัติเกิดประโยชน์ ทำใจให้สบาย และมาเริ่มทำความเข้าใจกันเป็นตามลำดับไป กล้ามเนื้อหัวใจก็เหมือนกับอวัยวะอื่นที่ต้องการเลือดแดงมาเลี้ยงหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจเรียกว่า หลอดเลือดแดงโคโรนารี ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 มิลลิเมตร แตกแขนงออกจากส่วนต้นของหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (aorta) บริเวณนั้นมักเรียกว่า ขั้วหัวใจ หลอดเลือดโคโรนารีนี้มีสองเส้นใหญ่ ๆ คือ เส้นเลือดแดงทางด้านซ้าย และทางด้านขวา หลอดเลือดหัวใจที่ว่านี้จะอยู่ที่ผิวด้านนอกของหัวใจ แตกแขนงห่อหุ้มทุกตารางนิ้วของหัวใจ ผนังด้านในของหลอดเลือดโคโรนารีถูกครอบคลุมด้วยเซลล์บุผิวขนาดเล็ก ๆ เรียกว่า เอนโดทีเลียม (Endothelium) ดูราวกับปูด้วยกระเบื้องอย่างดี เซลล์เอนโดทีเลียมเหล่านี้ มีหน้าที่สำคัญมาก อาทิเช่น จะหลั่งสารที่สำคัญหลายชนิด คอยป้องกันไม่ให้หลอดเลือดอุดตันจากเกร็ดเลือดและคราบไขมัน ราวกับการเคลือบน้ำยาอย่างดี ทั้งยังมีสารที่ช่วยให้เกิดการขยายตัวของเส้นเลือดทำให้การไหลเวียนดีขึ้นอีกด้วย เซลล์เนื้อเยื่อบุผิว ที่ว่านี้ก็เหมือน ๆ กับเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายเรา ตามธรรมชาติ ซึ่งมีการเจริญ และเสื่อมสลายตายไปตามเวลา ถ้าหากค่อย ๆ เกิดขึ้น และเป็นไปตามธรรมชาติ เช่นตามอายุ ก็มักไม่ก่อให้เกิดปัญหาทุกข์ร้อนใจอะไร แต่ถ้าหากเกิดก่อนเวลาอันควรอะไรจะเกิดขึ้น นึกถึงสภาพของพื้นกระเบื้อง ที่กระดำกระด่างและร่อนหลุด มีเศษไขมัน คราบของสกปรกไปเกาะอยู่เต็มไปหมด หลอดเลือดหัวใจขนาดเพียง 3 มิลลิเมตร ที่มีไขมันเข้าไปสะสมอยู่ที่ผนัง ค่อย ๆ พอกพูนสะสมปริมาณมากขึ้น ๆ การสะสม พอกพูนของไขมันดังกล่าวนี้อันที่จริงแล้ว ค่อยๆเกิดขึ้นตั้งแต่อายุน้อยๆ ทั้งนี้ ถูกกำหนดโดยหลายปัจจัย อาทิ พันธุกรรม และปริมาณไขมันที่บริโภค ฯลฯ ถ้าการสะสมของไขมันเป็นน้อย ๆ (น้อยกว่า 50% ของเส้นเลือด) ก็อาจยังไม่มีก่อให้เกิดอาการอะไร แต่ถ้าเป็นมาก ซึ่งมักจะเกินกว่า 70% ของเส้นเลือด จนกระทั่งเลือดไหลเวียนไม่เพียงพอกับความต้องการของกล้ามเนื้อหัวใจจะเกิดอะไรขึ้น
ดังนั้นอาการที่คนทั่วไปมักจะกลัว เช่น เจ็บเป็นจุด เจ็บจี๊ด ๆ หายใจลึก ๆ แล้วเจ็บ จึงไม่เข้าข่ายของอาการโรคหัวใจดังที่ได้นำเสนอมา อาการเหล่านั้นมักเป็นเรื่องเฉพาะที่บนผนังทรวงอก เช่น กระดูกซี่โครง กระดูกอ่อน กระดูกหน้าอก และเยื่อหุ้มปอด เป็นต้น ซึ่งก็คงต้องตรวจวินิจฉัยกันไปตามลำดับ การตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือด การป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ข้อ 2 ออกกำลังพอประมาณ ที่ว่านี้ไม่ใช่ต้องไปวิ่งมินิมาราธอน หรือเล่นกีฬาอย่างหนักเป็นชั่วโมงแล้วเลิกไปเป็นอาทิตย์ ๆ ที่จำง่าย ๆ คือ เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน ครั้งละประมาณ 30-40 นาที อาทิตย์หนึ่งประมาณ 3-4 วัน ข้อ 3 เลี่ยงรับประทานอาหารไขมันอิ่มตัวและคลอเลสเตอรอลสูง ควรรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง มีแร่ธาตุสารอาหารที่จำเป็นโดยเฉพาะโปแตสเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งก็มักจะได้จากอาหารประเภทธัญญพืช ผลไม้ ข้าวกล้อง ถั่ว งา เป็นต้น ข้อ 4 พักผ่อนทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ลดความเครียดในทางที่ถูกต้อง เช่น ทำสมาธิ การรู้จักสร้างอารมณ์ขัน การปล่อยละวางอย่างเหมาะสม ข้อ 5 ลดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ให้พอประมาณ ที่ว่าก็คือ คนที่ไม่เคยดื่มก็ไม่ต้องไปหัดดื่ม แต่คนที่เคยดื่มมากควรต้องลดปริมาณลง โดยมีหลักดังนี้ ข้อ 6 ลดน้ำหนักในกรณีที่น้ำหนักเกิน ข้อ 7 ข้อสุดท้ายคือ หยุดสูบบุหรี่ ศัตรูตัวฉกาจของหัวใจนั่นเอง บทความโดย น.พ.วรงค์ ลาภานันต์ |