Friday, February 20, 2009

วิธีแก้เมื่อลืมกินยาตามเวลา
ใครเคยลืมกินยาตามเวลาบ้าง วันนี้เดลินิวส์ออนไลน์มีวิธีแก้มาบอกเพราะยาบางตัวอาจออกฤทธิ์ไม่เหมือนกัน....
- ถ้าลืมกิน...ยาก่อนอาหารวิธีแก้ : ยาจำพวกนี้จะดูดซึมได้ดีขณะที่ห้องว่าง ดังนั้นหากลืมกินก่อนอาหารให้กินหลังอาหารอีกทีเมื่อเวลาผ่านไปแล้ว 2 ชั่วโมง กระเพาะจะใช้เวลาในการย่อยอาหารประมาณ 2 ชั่วโมงหลักการที่ถูก : ควรกินก่อนอาหาร ประมาณ 30-60 นาที
- ถ้าลืมกิน...ยาหลังอาหารวิธีแก้ : รีบกินทันทีที่นึกได้ แต่หากเลยหลังอาหารไปแล้ว 2 ชั่วโมง ให้หาของว่างรองท้อง แล้วกินยามื้อที่ลืม แต่ถ้าใกล้เวลากินมื้อต่อไปแล้ว ให้ข้ามมื้อที่ลืมไปเลย ไม่ควรกินยาเป็น 2 เท่า เด็ดขาด!หลักการที่ถูก : ควรรับประทานหลังอาหาร ประมาณ 15-20 นาที
- ถ้าลืมกิน...ยาหลังอาหารทันที/ยากินพร้อมอาหารวิธีแก้ : ยาประเภทนี้มีฤทธิ์กัดกระเพาะ อาจทำให้ท้องอืดแน่นหรือคลื่นไส้อาเจียน ถ้ากินตอนท้องว่าง ดังนั้นควรทำเหมือนกรณีลืมกินยาหลังอาหารทุกประการหลักการที่ถูก : ควรกินทันทีหลังอาหารคำสุดท้าย
- ถ้าลืมกิน...ยาก่อนนอนทางแก้ : ลืมแล้วก็ปล่อยให้ลืมไป ไม่ต้องกินซ้ำอีกครั้งในตอนเช้า หรือตามไปกินซ้ำ 2 เท่า ในช่วงก่อนเข้านอนของอีกวันหลักการที่ถูก : กินแล้วควรเข้านอนทันที (ยาประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นยาคลายประสาท ทำให้ง่วงนอน จึงอาจเกิดอุบัติเหตุได้ถ้าไม่อยู่เป็นที่เป็นทาง)
ครั้งหน้าถ้าลืมกินยาเมื่อไหร่ อย่าลืมนำวิธีแก้ที่แนะนำไปปฏิบัติตามกันได้.
ที่มา http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=72646&NewsType=2&Template=1

ประวัติ

การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ในสมัยที่มหาวิทยาลัยนเรศวรยังคงเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก โดยในช่วงนั้นภายหลังจากที่กระทรวงมหาดไทยอนุญาตให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลกได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินทุ่งหนองอ้อ-ปากคลองจิก ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน เพื่อขยายโครงการของมหาวิทยาลัยแล้ว ทางวิทยาเขตจึงได้จัดทำ "แผนพัฒนาวิทยาเขตพิษณุโลก" ขึ้น โดยมีโครงการที่จะจัดตั้งคณะขึ้นมาใหม่ 3 คณะ คือ คณะเกษตรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งคณะแพทยศาสตร์และพยาบาลศาสตร์ด้วย[1]

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภายหลังจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลกได้ยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยนเรศวร" เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคมพ.ศ. 2533 แล้ว การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์จึงได้ดำเนินการอีกครั้งในช่วงปี พ.ศ. 2536 ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นมีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในส่วนภูมิภาค โดยจัดให้มีการผลิตแพทย์เพิ่มและกระจายแพทย์ลงสู่ส่วนภูมิภาคให้มากขึ้น รัฐบาลจึงศึกษาความเป็นไปได้ถึงความเหมาะสมของการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นใหม่ในมหาวิทยาลัยภูมิภาค[5]

จากแนวทางดังกล่าว มหาวิทยาลัยนเรศวรได้เสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ต่อทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 โดยมุ่งหวังที่จะผลิตแพทย์สนองนโยบายรัฐบาลโดยแนวทางที่จะใช้ทรัพยากรร่วมกับโรงพยาบาลในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดภาคเหนือตอนล่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งมีการลงนามความร่วมมือการผลิตแพทย์ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยนเรศวรในปี พ.ศ. 2537[6] หลังจากที่คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นมีมติเห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุข ร่วมมือกับทบวงมหาวิทยาลัย จัดทำโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (The Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctor-CPIRD)

คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้มีการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2537[5] และในคราวเดียวกันนั้น คณะรัฐมนตรีก็ได้อนุมัติโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยมุ่งหวังให้เป็นสถานที่สำหรับการเรียนการสอนนิสิตในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพทั้งหมดของมหาวิทยาลัย และเพื่อเป็นโรงพยาบาลหลักของคณะสำหรับการเรียนการสอนของนิสิตแพทย์ในอนาคตต่อไป ซึ่งการก่อสร้างอาคารศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพแล้วเสร็จและเริ่มเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ซึ่งในช่วงแรกได้ใช้ชื่อว่า "สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร" โดยเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน และต่อมาได้เข้ารวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์ในปี พ.ศ. 2548 พร้อมทั้งใช้ชื่อเป็น "โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร"[3]

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรเริ่มรับนิสิตแพทย์รุ่นแรกตั้งแต่ปีการศึกษา 2538 โดยในช่วงแรกทำการเรียนการสอนชั้นปรีคลินิก (ชั้นปีที่ 1 - 3) ที่คณะแพทยศาสตร์และคณะอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยนเรศวร จากนั้นจึงไปศึกษาต่อระดับชั้นคลินิก (ชั้นปีที่ 4 - 6) ที่โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ซึ่งหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับการรับรองจากแพทยสภา เมื่อพ.ศ. 2539[5] จากนั้นในปี พ.ศ. 2542 ทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ขยายการเรียนการสอนชั้นคลินิกเพิ่มโดยร่วมมือกับทางโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ซึ่งนิสิตแพทย์ทั้งหมดจะอยู่ในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท โดยรับนิสิตจากโควต้าในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง[7]

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์

ปีการศึกษา 2546 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดรับนิสิตแพทย์แนวใหม่ (New Tract) โดยรับจากบุคลากรสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้โอกาสผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์หรือสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่มีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับการสาธารณสุข เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีระยะเวลาเวลาศึกษา 5 ปี (เทียบโอนหน่วยกิตในชั้นปีที่ 1) และศึกษาตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เหมือนกับนิสิตแพทย์ปกติทุกประการ ซึ่งจะอยู่ในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทเช่นเดียวกัน โดยจะทำการเรียนการสอนชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โรงพยาบาลแพร่ และ โรงพยาบาลพิจิตร[5]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เปิดรับนิสิตแพทย์จากระบบคัดเลือกส่วนกลางของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)[5] ซึ่งไม่ได้อยู่ในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทของกระทรวงสาธารณสุข โดยนิสิตแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนการสอนชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร และโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ (สำหรับโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จะรับเฉพาะนิสิตแพทย์ที่เข้าทำการศึกษาในปีการศึกษา 2547 - 2548 เท่านั้น)[8] และตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 เป็นต้นไปทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้เปลี่ยนวิธีการรับนิสิตแพทย์ระบบคัดเลือกส่วนกลาง โดยรับร่วมกับกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.)

ในปีการศึกษา 2552 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ดำเนินการจัดสรรสถานที่เรียนในชั้นคลินิกใหม่ โดยนิสิตในโครงการคัดเลือกผ่านกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท และโครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน จะจัดสรรให้เรียนในชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก หรือศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ส่วนโครงการแพทย์แนวใหม่ มีการจัดสรรให้เรียนในชั้นคลินิกที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลแพร่ หรือศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพิจิตร เช่นเดิม[9]

ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรแบ่งหน่วยงานออกเป็น 11 ภาควิชา สำนักงานเลขานุการคณะ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร[8][10]

ที่มา      

ประวัติ

การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ในสมัยที่มหาวิทยาลัยนเรศวรยังคงเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก โดยในช่วงนั้นภายหลังจากที่กระทรวงมหาดไทยอนุญาตให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลกได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินทุ่งหนองอ้อ-ปากคลองจิก ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน เพื่อขยายโครงการของมหาวิทยาลัยแล้ว ทางวิทยาเขตจึงได้จัดทำ "แผนพัฒนาวิทยาเขตพิษณุโลก" ขึ้น โดยมีโครงการที่จะจัดตั้งคณะขึ้นมาใหม่ 3 คณะ คือ คณะเกษตรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งคณะแพทยศาสตร์และพยาบาลศาสตร์ด้วย[1]

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภายหลังจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลกได้ยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยนเรศวร" เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคมพ.ศ. 2533 แล้ว การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์จึงได้ดำเนินการอีกครั้งในช่วงปี พ.ศ. 2536 ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นมีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในส่วนภูมิภาค โดยจัดให้มีการผลิตแพทย์เพิ่มและกระจายแพทย์ลงสู่ส่วนภูมิภาคให้มากขึ้น รัฐบาลจึงศึกษาความเป็นไปได้ถึงความเหมาะสมของการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นใหม่ในมหาวิทยาลัยภูมิภาค[5]

จากแนวทางดังกล่าว มหาวิทยาลัยนเรศวรได้เสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ต่อทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 โดยมุ่งหวังที่จะผลิตแพทย์สนองนโยบายรัฐบาลโดยแนวทางที่จะใช้ทรัพยากรร่วมกับโรงพยาบาลในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดภาคเหนือตอนล่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งมีการลงนามความร่วมมือการผลิตแพทย์ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยนเรศวรในปี พ.ศ. 2537[6] หลังจากที่คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นมีมติเห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุข ร่วมมือกับทบวงมหาวิทยาลัย จัดทำโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (The Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctor-CPIRD)

คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้มีการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2537[5] และในคราวเดียวกันนั้น คณะรัฐมนตรีก็ได้อนุมัติโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยมุ่งหวังให้เป็นสถานที่สำหรับการเรียนการสอนนิสิตในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพทั้งหมดของมหาวิทยาลัย และเพื่อเป็นโรงพยาบาลหลักของคณะสำหรับการเรียนการสอนของนิสิตแพทย์ในอนาคตต่อไป ซึ่งการก่อสร้างอาคารศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพแล้วเสร็จและเริ่มเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ซึ่งในช่วงแรกได้ใช้ชื่อว่า "สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร" โดยเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน และต่อมาได้เข้ารวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์ในปี พ.ศ. 2548 พร้อมทั้งใช้ชื่อเป็น "โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร"[3]

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรเริ่มรับนิสิตแพทย์รุ่นแรกตั้งแต่ปีการศึกษา 2538 โดยในช่วงแรกทำการเรียนการสอนชั้นปรีคลินิก (ชั้นปีที่ 1 - 3) ที่คณะแพทยศาสตร์และคณะอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยนเรศวร จากนั้นจึงไปศึกษาต่อระดับชั้นคลินิก (ชั้นปีที่ 4 - 6) ที่โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ซึ่งหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับการรับรองจากแพทยสภา เมื่อพ.ศ. 2539[5] จากนั้นในปี พ.ศ. 2542 ทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ขยายการเรียนการสอนชั้นคลินิกเพิ่มโดยร่วมมือกับทางโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ซึ่งนิสิตแพทย์ทั้งหมดจะอยู่ในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท โดยรับนิสิตจากโควต้าในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง[7]

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์

ปีการศึกษา 2546 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดรับนิสิตแพทย์แนวใหม่ (New Tract) โดยรับจากบุคลากรสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้โอกาสผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์หรือสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่มีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับการสาธารณสุข เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีระยะเวลาเวลาศึกษา 5 ปี (เทียบโอนหน่วยกิตในชั้นปีที่ 1) และศึกษาตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เหมือนกับนิสิตแพทย์ปกติทุกประการ ซึ่งจะอยู่ในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทเช่นเดียวกัน โดยจะทำการเรียนการสอนชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โรงพยาบาลแพร่ และ โรงพยาบาลพิจิตร[5]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เปิดรับนิสิตแพทย์จากระบบคัดเลือกส่วนกลางของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)[5] ซึ่งไม่ได้อยู่ในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทของกระทรวงสาธารณสุข โดยนิสิตแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนการสอนชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร และโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ (สำหรับโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จะรับเฉพาะนิสิตแพทย์ที่เข้าทำการศึกษาในปีการศึกษา 2547 - 2548 เท่านั้น)[8] และตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 เป็นต้นไปทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้เปลี่ยนวิธีการรับนิสิตแพทย์ระบบคัดเลือกส่วนกลาง โดยรับร่วมกับกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.)

ในปีการศึกษา 2552 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ดำเนินการจัดสรรสถานที่เรียนในชั้นคลินิกใหม่ โดยนิสิตในโครงการคัดเลือกผ่านกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท และโครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน จะจัดสรรให้เรียนในชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก หรือศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ส่วนโครงการแพทย์แนวใหม่ มีการจัดสรรให้เรียนในชั้นคลินิกที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลแพร่ หรือศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพิจิตร เช่นเดิม[9]

ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรแบ่งหน่วยงานออกเป็น 11 ภาควิชา สำนักงานเลขานุการคณะ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร[8][10]

ที่มา      



[ คลิกดูแผนที่ขนาดใหญ่ ]
ที่มาhttp://thai.tourismthailand.org/map/uttaradit-53-1.html

โรคหลอดเลือดหัวใจ

คงเคยได้ยินกันมาบ้าง  เช่น  โรคหัวใจขาดเลือด  เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ  บางคนต้องไปขยายเส้นเลือดด้วยบอลลูนหรือ ผ่าตัดต่อเส้นเลือดบ้าง พบว่า ในปี 2528 โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่ง คือมีผู้เสียชีวิต  56 คน ต่อแสนคน ต่อปี  ในปัจจุบันคืออีก 20 ปีต่อมา ก็ต้องเสียอันดับ ดูประหนึ่งว่าจะดีขึ้น เพราะต้องเสียแชมป์ ให้กับอุบัติเหตุ และมะเร็ง แต่เป็นที่น่าวิตกว่า อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ กลับเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว คือ 168 คน ต่อแสนคน ต่อปี และคาดว่าอีก 10 ปี ข้างหน้าตัวเลขจะเพิ่มขึ้นอีก

มีการประมาณกันอย่างคร่าวๆ ว่า ทุก ชั่งโมง จะมีคนไทย 5 คนเสียชีวิต ด้วยโรคหัวใจ หรือ ทุกปีกว่า 65,000 คน ต้องตายด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ คงมีหลายคนคิดว่า โชคดีที่ไม่ใช่เรา หรือ คนที่เรารัก และก็จะยิ่งเป็นโชคดียิ่งขึ้น ที่จะได้อ่านบทความนี้ จนเข้าใจและสามารถ นำมาปฏิบัติเกิดประโยชน์ ทำใจให้สบาย และมาเริ่มทำความเข้าใจกันเป็นตามลำดับไป
 
กล้ามเนื้อหัวใจก็เหมือนกับอวัยวะอื่นที่ต้องการเลือดแดงมาเลี้ยงหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจเรียกว่า  หลอดเลือดแดงโคโรนารี  ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  3-4  มิลลิเมตร  แตกแขนงออกจากส่วนต้นของหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (aorta)  บริเวณนั้นมักเรียกว่า  ขั้วหัวใจ

หลอดเลือดโคโรนารีนี้มีสองเส้นใหญ่ ๆ คือ  เส้นเลือดแดงทางด้านซ้าย  และทางด้านขวา หลอดเลือดหัวใจที่ว่านี้จะอยู่ที่ผิวด้านนอกของหัวใจ แตกแขนงห่อหุ้มทุกตารางนิ้วของหัวใจ
 
ผนังด้านในของหลอดเลือดโคโรนารีถูกครอบคลุมด้วยเซลล์บุผิวขนาดเล็ก ๆ เรียกว่า  เอนโดทีเลียม (Endothelium)      ดูราวกับปูด้วยกระเบื้องอย่างดี   เซลล์เอนโดทีเลียมเหล่านี้ มีหน้าที่สำคัญมาก  อาทิเช่น  จะหลั่งสารที่สำคัญหลายชนิด  คอยป้องกันไม่ให้หลอดเลือดอุดตันจากเกร็ดเลือดและคราบไขมัน ราวกับการเคลือบน้ำยาอย่างดี ทั้งยังมีสารที่ช่วยให้เกิดการขยายตัวของเส้นเลือดทำให้การไหลเวียนดีขึ้นอีกด้วย

เซลล์เนื้อเยื่อบุผิว ที่ว่านี้ก็เหมือน ๆ กับเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายเรา  ตามธรรมชาติ ซึ่งมีการเจริญ  และเสื่อมสลายตายไปตามเวลา ถ้าหากค่อย ๆ เกิดขึ้น และเป็นไปตามธรรมชาติ เช่นตามอายุ ก็มักไม่ก่อให้เกิดปัญหาทุกข์ร้อนใจอะไร แต่ถ้าหากเกิดก่อนเวลาอันควรอะไรจะเกิดขึ้น  นึกถึงสภาพของพื้นกระเบื้อง ที่กระดำกระด่างและร่อนหลุด  มีเศษไขมัน คราบของสกปรกไปเกาะอยู่เต็มไปหมด  หลอดเลือดหัวใจขนาดเพียง  3  มิลลิเมตร  ที่มีไขมันเข้าไปสะสมอยู่ที่ผนัง  ค่อย ๆ พอกพูนสะสมปริมาณมากขึ้น ๆ
 

การสะสม พอกพูนของไขมันดังกล่าวนี้อันที่จริงแล้ว ค่อยๆเกิดขึ้นตั้งแต่อายุน้อยๆ ทั้งนี้ ถูกกำหนดโดยหลายปัจจัย อาทิ พันธุกรรม และปริมาณไขมันที่บริโภค ฯลฯ 


ถ้าการสะสมของไขมันเป็นน้อย ๆ (น้อยกว่า  50% ของเส้นเลือด) ก็อาจยังไม่มีก่อให้เกิดอาการอะไร  แต่ถ้าเป็นมาก ซึ่งมักจะเกินกว่า 70% ของเส้นเลือด จนกระทั่งเลือดไหลเวียนไม่เพียงพอกับความต้องการของกล้ามเนื้อหัวใจจะเกิดอะไรขึ้น

ถ้าอาการตีบตันค่อย ๆ เป็น ค่อยไป ก็จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อขาดเลือด โดยเฉพาะเวลาที่ ร่างกายและกล้ามเนื้อหัวใจ ต้องการเลือดไปเลี้ยงมากๆ เช่น ขณะออกกำลัง ตื่นเต้น ก็จะทำให้เกิดอาการ ซึ่งเมื่อหยุดพักแล้วจะดีขึ้น ยกเว้นในบางรายอาจต้องใช้ยาขยายหลอดเลือดช่วย ที่เรียก ยาพ่นหรืออมใต้ลิ้น

ถ้าอาการตีบตันเกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันใด ซึ่งก็มักเกิดจากก้อนไขมัน (Lipid plaque) ที่ผิวด้านในของหลอดเลือดหัวใจมีการแตกออก แล้วมีเกร็ดเลือดมาอุดตันเต็มหลอดเลือด ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ถึงขนาดทำให้บางคน เสียชีวิตทันทีจากหัวใจ (Sudden cardiac death) เช่น ที่ได้ยินข่าวว่า ดีใจ  ตกใจมาก  เป็นลม ช๊อคตายไปเลยก็มี  รายที่โชคดีหน่อยก็อาจถูกนำส่งโรงพยาบาลพบแพทย์  รักษาเยียวยากันไปตามความรุนแรง  ประเภทนี้ก็มีทั้งที่รอดและที่ไม่รอดเช่นกัน



อาการของหัวใจขาดเลือดเป็นอย่างไร ? 

เจ็บจี๊ด ๆ เจ็บเวลาหายใจ เหมือนถูกอะไรทิ่มแทง  จะใช่อาการของโรคหัวใจขาดเลือดหรือไม่?

อาการปวดหัวใจที่ว่านี้  เกิดจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดออกซิเจนมาเลี้ยง  ทำให้เซลล์หัวใจเกิดการทำงานชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic)  เกิดสารตัวหนึ่งที่เรียกว่ากรดแลกติค (Lactic acid) เหมือนคนที่ออกกำลังหนัก ๆ แล้วปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ  สารแลกติคนี้จะระคายเคืองต่อระบบประสาทที่มาหล่อเลี้ยงหัวใจ  แต่จะดีหรือร้ายก็ไม่ทราบ  เจ้าเส้นประสาทเหล่านี้ มีความสามารถในการส่งกระแสประสาทน้อยไปหน่อย  ไม่เหมือนเส้นประสาทตามผิวหนังที่เจ็บตรงไหนก็บอกได้เลย ดังนั้น หัวใจเรานั้นเวลาขาดเลือดจะมีอาการเจ็บแบบ  ตื้อ ๆ หนัก ๆ เหมือนถูกของหนัก ๆ ทับ  บางคนหนักกว่านั้นบอกว่า  เหมือนถูก(ช้าง)เหยียบเลยทีเดียว  อาการที่มักเกิดร่วมด้วยคือ  เหงื่อจะแตก  หน้าจะซีด  บางคนก็มีใจสั่น และเป็นลมไปเลยก็มี

อาการที่สำคัญประการหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเหล่านี้ ก็คือ มีอาการปวดร้าว ซึ่งมักจะไปที่แขนด้านใน (ด้านซ้ายมากกว่าด้านขวา) และบริเวณต้นคอและกราม บางคนว่าคล้ายอาการปวดฟัน  บังเอิญเจ้ากรรม มีฟันผุอยู่พอดีเลยต้องถูกถอน
โดยสรุปอาการปวดหัวใจจึงมีลักษณะดังนี้

1. ปวดแน่น  ตื้อ ๆ หนัก ๆ 
2. บอกตำแหน่งได้ไม่ชัดเจน
3. ปวดร้าวไปบริเวณแขนและกราม
4. เป็นมากเมื่อออกกำลัง  พักแล้วดีขึ้น
5. มีอาการอื่น ๆ ร่วม เช่น  เหงื่อแตก  หน้าซีด ใจสั่น


ดังนั้นอาการที่คนทั่วไปมักจะกลัว  เช่น  เจ็บเป็นจุด  เจ็บจี๊ด ๆ หายใจลึก ๆ  แล้วเจ็บ  จึงไม่เข้าข่ายของอาการโรคหัวใจดังที่ได้นำเสนอมา  อาการเหล่านั้นมักเป็นเรื่องเฉพาะที่บนผนังทรวงอก  เช่น  กระดูกซี่โครง      กระดูกอ่อน  กระดูกหน้าอก  และเยื่อหุ้มปอด  เป็นต้น  ซึ่งก็คงต้องตรวจวินิจฉัยกันไปตามลำดับ


การตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือด

อย่างที่ได้กล่าวไว้แล้วตอนต้น ว่าอาการของ หัวใจขาดเลือดเป็นอย่างไร อาการดังกล่าว มีส่วนสำคัญยิ่งต่อการวินิจฉัย และการเลือกชนิดของการตรวจ เช่น

การตรวจคลื่นหัวใจ( ECG ) ซึ่งเป็นการตรวจในขณะพัก เทียบได้กับ รถที่ติดเครื่องแต่จอดกับที่ ถ้ามีความผิดปกติก็มักจะต้องเป็นมากแล้ว
 
การตรวจภาพรังสีของทรวงอกก็เพื่อดูขนาดของเงาหัวใจ โดยปกติขนาดหัวใจใครก็จะขนาดประมาณกำปั้นของคนๆนั้น รวมทั้วสามารถบอกภาวะน้ำเกิน ที่เรียกว่า “น้ำท่วมปอดได้”

ถ้ายังสงสัย หรือไม่แน่ใจว่าหัวใจจะขาดเลือดหรือไม่ เปรียบเทียบให้เข้าใจเช่นเดียวกับการตรวจสภาพรถ ก็เป็นขั้นตอนการทดลองขับ หรือเร่งเครื่องดู ซึ่งก็คือการตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยการเดินบนสายพาน ( Exercise Stress Test ) ซึ่งขณะที่ทำการทดสอบดังกล่าว ก็ต้องมีการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจร่วมไปด้วย โดยต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์และพยาบาล 

การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนของหัวใจ ( Echocardiogram) ซึ่งก็คือการตรวจ อัลตราซาวน์ของหัวใจนั่นเอง ที่จะบอกถึงความสามารถในการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ รวมทั้งขนาดของห้องหัวใจซึ่งจะชัดเจนและได้รายละเอียดเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ


การป้องกันการเกิดโรคหัวใจ

ถ้ามองย้อนกลับไปที่ต้นตอของปัญหาว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและเกิดภาวะ  อุดตันขึ้น ก็จะขอเรียกว่าเป็น ปัจจัยเสี่ยง หรือ Risk factors ซึ่งตามตำราทางการแพทย์ได้พิสูจน์ทราบอย่างชัดเจนไว้ดังนี้คือ

1. ภาวะความดันโลหิตสูง
2. ภาวะคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง และไขมันดี HDL ต่ำ
3. การสูบบุหรี่
4. โรคเบาหวาน
5. เพศชายที่อายุมากกว่า 45 ปี  หรือหญิงที่อายุเกินกว่า 55 ปี หรือวัยหมดประจำเดือน
6. ประวัติโรคหัวใจในครอบครัว

จะเห็นได้ว่าปัจจัยเสี่ยงบางประการพอจะป้องกันได้  พอจะบรรเทาเบาบางได้  เช่น  3-4  ข้อแรก  แต่สองข้อหลังคงแก้ไขอะไรไม่ได้แน่นอน  ต่อไปก็จะได้ขยายความเป็นลำดับ
เริ่มกันที่ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension)  ความดันโลหิตหรือแรงดันเลือด (Blood pressure) ก็คือ แรงดันในหลอดเลือดที่เกิดขึ้นซึ่งประกอบไปด้วย ช่วงหัวใจบีบตัว (systolic) และหัวใจคลายตัว (Diastolic) เวลาแพทย์หรือพยาบาลวัดความดัน แล้วบอกคนไข้ว่าวัดความดันได้ 120/80 มม.ปรอท ก็คือ   ความดัน Systolic (บีบตัว) = 120 มม.ปรอท และความดัน Diastolic (คลายตัว) = 80 มม.ปรอท นั่นเอง   ความดันที่ว่านี้มีความสำคัญที่จะคอยดันสารน้ำและเม็ดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ต่ำมากไปก็ไม่มีกำลัง หรือเป็นลมได้ ถ้าสูงมากเกินไปก็อาจเกิดหลอดเลือด โดยเฉพาะที่สมอง แตก หรือตีบได้ 

สำหรับที่เส้นเลือดหัวใจก็เกิดเรื่องได้เช่นกัน  ความดันโลหิตสูงที่เป็นนานๆ ก็จะไปทำลายเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือด ดังทีได้กล่าวถึงตอนต้น ทำให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพ และแข็งตัว ในที่สุดก็เกิดการตีบตัน

ถ้าหากมีก้อนไขมันที่ผนังหลอดเลือด  ความดันโลหิตที่สูงมาก ก็อาจทำให้เกิดการแตกของก้อนไขมันอย่างเฉียบพลัน และเกิดการก่อตัวของลิ่มเลือด จนเป็นเหตุให้หลอดเลือดอุดตันตามมาดังที่กล่าวข้างต้น

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนอื่นคือ  ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่อาจไม่แสดงอาการอะไรเลยก็ได้  เรียกว่า  ถ้าไม่ตรวจก็ไม่ทราบ  การตรวจที่ว่าก็เพียงใช้เครื่องวัดความดันโลหิต  ถ้าวัดซ้ำ ๆ กันสองสามครั้งแล้วสูงเกิน  140/90  มม.ปรอท  ก็ต้องเริ่มระมัดระวังตัว  ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงประเภทที่ความดันโลหิตสูงจนเส้นโลหิตสมองแตก หรือหัวใจโตมากแล้ว ประเภทนี้ต้องรักษากันเต็มที่อยู่แล้ว  แต่ประเภทที่สูงไม่มาก  หรือไม่อยากกินทานหาหมอเป็นพัก ๆ ตามอารมณ์ นี่สิน่าวิตก  ประเภทนี้มีมาก 

ความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นประมาณ  95% เป็นประเภทที่ ไม่ทราบสาเหตุ (Essential hypertension) จนปัจจุบันนี้ก็ยังบอกได้ไม่แน่ชัดว่าอะไรเป็นสาเหตุกันแน่  เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับเชื้อชาติ  กรรมพันธุ์  สารอาหาร เกลือแร่ต่าง ๆ ในร่างกาย  ไม่ว่าจะเกิดจากอะไร ถ้าจะปฏิบัติตัวหรือรักษาก็จะมีการรักษาอยู่สองประเภท  เรียกว่า การรักษาด้วยยา (Pharmacologic treatment) ซึ่งคงต้องฟังจากแพทย์ผู้ดูแลเป็นหลัก และอีกประเภทคือ  การรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา (non pharmacologic treatment) ฟังดูแล้วน่าสนใจทีเดียว เพราะเวลาก็ไม่ต้องเสีย(นั่งรอหมอตรวจ) เงินก็ไม่ต้องใช้ (อาจใช้บ้าง) จะมีอะไรกันบ้างคงต้องอาศัยตามคำแนะนำของสมาคมแพทย์โรคหัวใจของอเมริกา (American heart association) เป็นหลัก ซึ่งแนะนำไว้ดังนี้

 ข้อ  1  ลดอาหารเค็ม คิดเป็นปริมาณเกลือในอาหารให้น้อยกว่า 6 กรัม  ประมาณช้อนชากว่าเล็กน้อย  ต้องรวมอาหารที่มีเกลือ หรือความเค็มแฝงอยู่อื่น ๆ ด้วย เช่น  อาหารทะเล  ผลไม้ดอง  อาหารสำเร็จต่าง ๆ ถ้าจะเอาให้สั้น ๆ ง่าย ๆ ก็คือ  ไม่ควรเติมเกลือ  เติมน้ำปลา  ในอาหารที่รับประทาน


ข้อ  2  ออกกำลังพอประมาณ ที่ว่านี้ไม่ใช่ต้องไปวิ่งมินิมาราธอน หรือเล่นกีฬาอย่างหนักเป็นชั่วโมงแล้วเลิกไปเป็นอาทิตย์ ๆ ที่จำง่าย ๆ คือ เดินเร็ว  วิ่งเหยาะ  ว่ายน้ำ  ขี่จักรยาน  ครั้งละประมาณ 30-40 นาที อาทิตย์หนึ่งประมาณ 3-4 วัน


ข้อ  3  เลี่ยงรับประทานอาหารไขมันอิ่มตัวและคลอเลสเตอรอลสูง  ควรรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง มีแร่ธาตุสารอาหารที่จำเป็นโดยเฉพาะโปแตสเซียมและแมกนีเซียม  ซึ่งก็มักจะได้จากอาหารประเภทธัญญพืช  ผลไม้  ข้าวกล้อง  ถั่ว  งา  เป็นต้น


ข้อ  4  พักผ่อนทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ลดความเครียดในทางที่ถูกต้อง  เช่น  ทำสมาธิ  การรู้จักสร้างอารมณ์ขัน การปล่อยละวางอย่างเหมาะสม


ข้อ  5  ลดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  ให้พอประมาณ ที่ว่าก็คือ  คนที่ไม่เคยดื่มก็ไม่ต้องไปหัดดื่ม แต่คนที่เคยดื่มมากควรต้องลดปริมาณลง  โดยมีหลักดังนี้
วิสกี้  ไม่เกิน  ¼  แก้ว/วัน  เบียร์ไม่เกิน  1 ขวด/วัน  ไวน์ไม่ควรเกิน  1  กระป๋อง (250 ซีซี/วัน)


ข้อ  6  ลดน้ำหนักในกรณีที่น้ำหนักเกิน


ข้อ  7  ข้อสุดท้ายคือ  หยุดสูบบุหรี่  ศัตรูตัวฉกาจของหัวใจนั่นเอง

ทั้ง  7  ข้อที่กล่าวมา ก็ดูแล้วไม่น่าจะเป็นเรื่องยากเย็นสำหรับคนที่มีความตั้งใจจริง แต่ที่สำคัญมีข้อแม้ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนเป็นกิจวัตร เพราะผลดีที่จะเกิดต้องอาศัยเวลา


บทความโดย

น.พ.วรงค์ ลาภานันต์  
กองอายุรกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
แพทย์ที่ปรึกษา ศูนย์หัวใจ รพ.วิภาวดี

ที่มา http://www.vibhavadi.com/web/health_detail.php?id=105