Wednesday, November 18, 2009

Pic_47564

ต่อมไทรอยด์ อาจฟังคุ้นหูแต่ไม่ค่อยรู้ว่าสำคัญอย่างไร ผู้ป่วยจำนวนมากที่มีโรคไทรอยด์แฝงอยู่ แต่ไม่เคยทราบว่าสาเหตุของอาการผิดปกติเหล่านั้น มาจากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ...

ต่อมไทรอยด์เป็นเสมือนหน่วยสร้างความสมดุลให้กับร่างกายหลายระบบ หากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติจะส่งผลให้ร่างกายหลายส่วนเกิดปัญหาตามมา ผู้ที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติอาจมีอาการแสดงได้หลายรูปแบบ เช่น เฉื่อยชา ง่วงเหงาหาวนอนบ่อย เหนื่อยง่าย ใจสั่น มือสั่น ขี้ร้อน สมาธิสั้น อยู่ไม่ค่อยสุข กระวนกระวาย หิวบ่อย น้ำหนักลดถึงแม้รับประทานมาก เป็นตะคริวง่าย ในผู้หญิงประจำเดือนอาจมาน้อยลง บางกรณีอาจมามากผิดปกติ หรืออาจขาดหายไป

ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมที่ใหญ่ที่สุดในระบบต่อมไร้ท่อ ทำหน้าที่สร้าง “ฮอร์โมนไทรอยด์” และปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ ฮอร์โมนไทร็อกซินหรือที่เรียกว่า ที4 (T4) และ ฮอร์โมนไตรไอโอโดไทโรนีนหรือที่เรียกว่า ที3 (T3) ซึ่งฮอร์โมนที่ถูกปล่อยออกไปจะออกฤทธิ์ต่อเซลล์หรืออวัยวะเป้าหมาย

หน้าที่ของฮอร์โมนไทรอยด์

ฮอร์โมนไทรอยด์ทำหน้าที่หลายอย่างในร่างกายและครอบคลุมเซลล์เป้าหมายที่หลากหลาย โดยไม่สามารถระบุอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งโดยเฉพาะ รวมทั้งประสานการทำงานกับระบบน้ำย่อยและฮอร์โมนอื่นๆ อาจพอสรุปได้ว่าฮอร์โมนไทรอยด์เกี่ยวข้องกับระบบและหน้าที่ในร่างกายดังนี้ เกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการ การเจริญเติบโตของร่างกายและอวัยวะต่างๆ
ระบบการเผาพลาญอาหาร ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและ ไขมัน มีทั้งการสังเคราะห์และการสลาย เพื่อให้การดำเนินงานของอวัยวะต่างๆ เป็นไปตามปกติผลิตความร้อน รักษาอุณหภูมิในร่างกายกระตุ้นการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ส่วนหนึ่งผ่านระบบประสาทอัตโนมัติสัมพันธ์กับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบหัวใจ และหลอดเลือด ระบบประสาทสมอง เป็นต้นประสานการทำงานของระบบฮอร์โมนอื่นๆ อีกหลายชนิดในร่างกาย

ไอโอดีนกับต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์นำไอโอดีนมาเป็นส่วนสำคัญในการสังเคราะห์ฮอร์โมน ความต้องการไอโอดีนต่อวันที่แนะนำคือ 150 ไมโครกรัมต่อวันในผู้ใหญ่ และ 200 ไมโครกรัมต่อวันในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร คอพอกจากการขาดไอโอดีนทำให้เกิดปัญหาต่อไปนี้ ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์หลั่งออกมามาก ต่อมไทรอยด์โตมากขึ้นตามระยะเวลาและความรุนแรงของการขาด
อาจมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป เด็กแรกคลอดมีโอกาสเป็นโรคเอ๋อ หรือขาดฮอร์โมนต่อมไทรอยด์แต่กำเนิดมากขึ้น

คอพอก หมายถึง ภาวะต่อมไทรอยด์โตกว่าปกติ ในความรู้สึกของชาวบ้านคอพอกอาจจะสื่อความหมายที่ค่อนข้างรุนแรง มองเห็นภาพคอที่โตยื่นออกมาเป็นก้อนตะปุ่มตะป่ำ และนึกถึงการขาดไอโอดีน หรือ อาหารทะเล ในทางการแพทย์ต่อมไทรอยด์ที่มีขนาดโตขึ้นเรียกรวมกันว่า Goiter (กอยเตอร์) ซึ่งอาจมีก้อนหลายลักษณะ เช่น โตทั้งต่อมมีผิวเรียบไม่ขรุขระ โตเป็นก้อนเดียวโดดๆ ข้างซ้ายหรือขวาข้างใดข้างหนึ่ง โตเป็นก้อนมากกว่า 1 ก้อนและมีหลายขนาด เป็นต้น

ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

ต่อมไทรอยด์โตแต่ทำหน้าที่ปกติ ต่อมไทรอยด์เป็นพิษคือทำงานมากเกินไป ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป
ต่อมไทรอยด์โต แต่สร้างฮอร์โมนตามปกติ หลายคนไม่ทราบว่าต่อมไทรอยด์ตัวเองโตจนกระทั่งมีคนทัก หมอตรวจพบ หรือคลำได้เอง นั่นแสดงว่าต่อมไทรอยด์ที่โตขึ้นไม่ทำให้เกิดอาการ ยกเว้นบางภาวะ เช่น ก้อนเกิดจากการอักเสบ หรือมีเลือดออกในต่อมไทรอยด์อย่างกะทันหัน ทำให้มีอาการเจ็บบริเวณที่เป็นก้อน ในบางกรณีต่อมไทรอยด์อาจโตมากและดันไปด้านหลัง กดต่อหลอดคอหรือหลอดอาหาร ทำให้มีอาการหายใจลำบากโดยเฉพาะเวลานอน หรือกลืนลำบาก

ต่อมไทรอยด์โตร่วมกับการสร้างฮอร์โมนผิดปกติ ไม่ว่าจะสร้างมากเกินไป หรือน้อยเกินไป ผู้ที่เป็นก็จะมีอาการแสดงของโรคไทรอยด์ได้ ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป จนระดับฮอร์โมนในเลือดสูงกว่าปกติ

อาการที่พบได้
- เหนื่อยง่าย ใจสั่น มือสั่น ขี้ร้อน เหงื่ออกมาก
- หิวบ่อย น้ำหนักลดถึงแม้รับประทานมาก
- สมาธิสั้น อยู่ไม่ค่อยสุข กระวนกระวาย
- เครียด นอนไม่ค่อยหลับมีอาการทางด้านประสาทหรือด้านจิตใจได้ง่าย
- บางรายถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้นวันละ 2 – 3 ครั้ง
- ในผู้หญิง ประจำเดือนอาจมาน้อยลง
- ในผู้ชายอาจพบอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขา และแขนส่วนต้น
- ในบางรายอาจพบตับโต และตัวเหลืองตาเหลือง
- ในรายที่ ต่อมไทรอยด์เป็นพิษรุนแรงอาจมาด้วยอาการของภาวะหัวใจล้มเหลวได้

การรักษาต่อมไทรอยด์เป็นพิษไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตามจะมี 3 วิธี คือ
1. การให้ยายับยั้งการสร้างฮอร์โมนต่อมไทรอยด์
2. การให้ไอโอดีนเคลือบสารกัมมันตภาพรังสี คือ Iodine 131
3. การผ่าตัด

ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ

ต่อมไทรอยด์ ทำงานน้อย เป็นภาวะที่ตรงข้ามกับต่อมไทรอยด์ทำงานมาก กล่าวคือ ฮอร์โมไทรอยด์ในเลือดอยู่ในระดับน้อยเกินไป และทำให้เกิดอาการเนื่องจากมีฮอร์โมนไทรอยด์น้อย อาการที่พบได้เฉื่อยชา ขี้เกียจ ง่วงเหงาหาวนอนบ่อย น้ำหนักเพิ่มขึ้นบวมแบบกดไม่บุ๋ม ผิวหนังแห้ง หยาบ ผมหยาบหนา เปราะ ร่วงง่ายเหนื่อยง่าย รู้สึกหายใจไม่เต็มที่ ท้องผูกคิดช้า พูดช้า ซึมเศร้า ไม่มีสมาธิกล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่ค่อยมีแรง เป็นตะคริวง่ายในผู้หญิงประจำเดือนอาจมามากกว่าปกติ หรือประจำเดือนขาดหายไปในรายที่เป็นมากอาการรุนแรงอาจพบน้ำอยู่ช่องต่างๆ ของร่างกาย เช่น ช่องปอด ช่องหัวใจการรักษาต่อม

ไทรอยด์ทำงานน้อย คือการให้ฮอร์โมนไทรอยด์เพื่อชดเชยที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้ จึงต้องรักษาไปตลอดชีวิต เมื่อชดเชยฮอร์โมนได้เพียงพอ ร่างกายก็จะกลับสู่ภาวะปกติ สิ่งสำคัญคือต้องชดเชยให้ฮอร์โมน อยู่ในระดับปกติตลอดไป
ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ จะส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ หลากหลาย จนบางครั้งยากที่จะสังเกตได้ด้วยตัวเอง หากสงสัยหรือพบอาการผิดปกติใดๆ ควรเข้ารับการตรวจเพื่อหาสาเหตุให้แน่ชัด ก่อนโรคจะเป็นมากจนมีอาการรุนแรง

ที่มา ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์และต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลเวชธานี

http://www.thairath.co.th/content/life/47564

No comments:

Post a Comment